ปฏิทิน 2555

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555









"เองกินเหล้าเมายาไม่ว่าดอก
อย่าออกนอกทางไปให้เสียผล
แต่อย่ากินสินบาทคาดสินบน
เรามันชนชั้นปัญญาตุลาการ"











พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย "


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็น พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจองมารดาตลับ ทรงประสูตเมื่อ วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ .2417
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ในสำนัก ของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) และพระยาโอวาทวรกิจ ต่อมา ทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และได้ทรงศึกษา ชั้นมัธยม ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษา วิชากฎหมาย ณ สำนักโครสต์ เซิร์ซ มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด จนสำเร็จ ได้ปริญญาตรี เกียรตินิยม สาขากฎหมาย
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้เสด็จกลับ ประเทศไทย และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น สภานายกพิเศษ พิจารณาแก้ไข ธรรมเนียม ศาลยุติธรรม สำหรับหัวเมือง จนสำเร็จ ทั่วพระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง จัดวางระเบียบ ศาลยุติธรรม ของประเทศ จากระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ทรงแก้ บทกฎหมาย ว่าด้วย การพิจารณาความแพ่ง และอาญาเสียใหม่ อันส่งผลให้ ราชการ ศาลยุติธรรม ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ และมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเป็น ประธานคณะกรรมการ การตรวจพระราชกำหนด บทอัยการที่ใช้อยู่ และจัดวางระเบียบไว้ เป็นบรรทัดฐาน พระองค์ทรงมี บทบาทอย่างมาก ในการตรวจชำระ บทอัยการครั้งนี้ โดยเฉพาะ การจัดทำ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายไทย ฉบับแรก สำเร็จใน พ.ศ.2451 โดยใช้เวลาถึง 11 ปี ประเทศไทย ได้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนี้มาเป็นเวลานานถึง 49 ปี ซึ่งถือได้ว่าเ ป็นต้นแบบของ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศให้ใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500
เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำริว่า การที่จะให้ ราชการฝ่าย การศาลยุติธรรม ดำเนินไปได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้อง จัดให้มี ผู้รู้กฎหมายมากขึ้น และการที่จะจัดเช่นนั้นได้ดีที่สุด คือ เปิดให้มีการสอน ชุดวิชากฎหมายขึ้น ให้เป็นการแพร่หลาย จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นการเปิดการสอน กฎหมายครั้งแรก พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง
ทรงห่วงใย นักเรียนกฎหมาย และปรารถนาที่จะ ให้ใช้วิชากฎหมาย ในทางปฏิบัติจริง ๆ จึงทรงสนับสนุน ในการว่าความ นักเรียนคนใด ไม่มีความจะว่า ก็ทรงให้ว่าความแทนผู้ต้องหา ในเรือนจำ นอกจาก การสอนประจำวันแล้ว พระองค์ยังทรง แต่งตำราอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่า ที่ใช้อยู่ในเวลานั้น รวมทั้ง พระราชบัญญัติ บางฉบับ และคำพิพากษาฎีกาบางเรื่อง โดยจัดพิมพ์ขึ้น เป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบัญละเอียด กฎหมายตราสามดวง ที่ทรงรวบรวมขึ้นนั้นให้ชื่อว่า กฎหมายราชบุรี ซึ่งเป็นรากฐาน ในการศึกษากฎหมายมาหลายทศวรรษ
ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2440 ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เป็นเนติบัณฑิต ผู้สำเร็จเนติบัณฑิต เหล่านี้ ได้เข้ารับราชการ เป็นกำลังของกระทรวงยุติธรรมหลายท่านด้วยกัน บางท่านเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนกฎหมาย การตั้งโรงเรียนกฎหมาย และพระนิพนธ์ทางกฎหมาย ของพระองค์นั้นนับว่าเป็นรากฐาน ในการก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ
ในปี พ.ศ. 2453 ขณะยังทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ทรงขอลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงประชวรอยู่เสมอ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ลาออกในปีนั้นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีนั้นเอง ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในระหว่างที่ทรงเป็น เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการแก้ไข และวางระเบียบการ ในกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น คือ ทรงแก้ไข ระเบียบการของหอทะเบียนที่ดินทั้งหลาย ทั่วพระราชอาณาจักร โดยทรงจัดให้มี การประชุม นายทะเบียนเป็นครั้งคราว ทรงพัฒนาการออกโฉนกที่ดิน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มี และทรงทำนุบำรุงการเกษตร โดยเฉพาะเรื่อง การชลประทาน และการทดน้ำ นับว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติราชการสำคัญ อันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยิ่ง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยวัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้ทรง กราบถวายบังคมลา ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ได้ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุเพียง 47 พรรษา
จากการที่ได้ทรง ทุ่มเทพพระวรกาย ศึกษาวิชาการทางกฎหมาย และทรงทำให้ ระบบกฎหมาย และศาลยุติธรรม ของประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับอนารยประเทศทั้งปวงนี้เอง ทำให้ประชาชน ต่างขนานพระนามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันรพี" เพื่อให้ บรรดานักกฎหมาย ได้มีโอกาส แสดงความระลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการ วางพวงมาลา หน้าพระรูป และบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ตลอดจน การจัดกิจกรรม ทางกฎหมาย ในหลายรูปแบบ เพื่อเผยแพร่ วิชาการกฎหมาย ให้กว้างขวางสู่ประชาชน สมดังพระประสงค์ ที่ต้องการให้ นักกฎหมายมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนากฎหมาย ให้ก้าวหน้า เหมาะสมแก่สภาพสังคม ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และใช้กฏหมาย เพื่อให้เกิด ความยุติธรรมแก่ประชาชน 

" เกาะอ่างทอง "

                           หมู่เกาะอ่างทอง  หรือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทย ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ 40 เกาะ จากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขา ระยะทางประมาณ 500 เมตร ซึ่งจะมองเห็นหมู่เกาะอ่างทองทั้งหมดทอดตัวเรียงรายเป็นแนวยาว ด้วยรูปร่างต่าง ๆ สวยงามแปลกตา ตามเกาะต่าง ๆ จะมีหาดทรายอยู่เกือบทุกเกาะ สวยงามโดดเด่นแตกต่างกันไป บางเกาะหาดทรายมีสีขาวบริสุทธิ์ บางเกาะมีปะการังตามชายทะเลหลายชนิด หลากสี อยู่ท่ามกลางความเงียบสงบ


หมู่เกาะอ่างทอง
 
หมู่เกาะอ่างทอง

          และที่ เกาะแม่เกาะ ยังมี "ทะเลใน" เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ หรือทะเลสาบกลางภูเขา ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยเทือกเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อน นอกจากนี้ บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น เกาะท้ายเพลา เกาะวัวกันตัง เกาะหินดับ ซึ่งแต่ละที่นั้นมีความสวยงามน่าประทับใจไม่แพ้กัน

          อย่างไรก็ตาม ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 077 288817 - 9

เกาะสมุย

เกาะสมุย

" เกาะเต่า "

เกาะเต่า



   ความเป็นมา  

          เกาะ เต่า อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะเต่ามีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว มีพื้นที่ 12,936 ไร่ ประกอบด้วยเกาะที่สำคัญด้วยกัน 2 แห่งคือ เกาะเต่าและเกาะนางยวน ห่างจากเกาะพงันไปทางเหนือประมาณ 45 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเกาะที่อยู่ใกล้ที่สุด เมื่อเทียบกับระยะห่างจากปากน้ำชุมพร 85 กิโลเมตร และห่างจากอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 120 กิโลเมตร 
          ด้วย ความที่เป็นเกาะที่อยู่ไกลจากแผ่นดินใหญ่มาก ในอดีตบริเวณชายหาดจึงเต็มไปด้วยเต่าที่มาหาแหล่งวางไข่เป็นจำนวนมาก เพราะเงียบสงบและไม่มีใครมาอยู่อาศัย ภายหลังเมื่อเริ่มมีผู้คน เข้ามาทำกินบนเกาะและค้นพบแนวประการังที่งดงามรอบเกาะ จึงพัฒนากลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นแหล่งดำน้ำที่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้ความสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเป็นแหล่งดำน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสองโลกรองจากออสเตรเลีย 
เกาะเต่า
 เกาะเต่าในอดีต 

          เหตุเพราะเกาะเต่านั้นอยู่ห่างไกลมาก ยากที่จะเดินทางไปถึง ทำให้ในอดีตช่วงหนึ่งของเกาะแห่งนี้เป็นสถานที่คุมขังนักโทษการเมืองเช่นเดียวกับเกาะตะรุเตา โดยส่วนใหญ่เป็นนักโทษการเมืองในคดีกบฏวรเดช พ.ศ.2476 และคดีพยายามก่อการกบฏ ใน พ.ศ.2481   

          นักโทษที่ถูกคุมขังนั้นส่วนใหญ่อยู่ด้วยควาลำบากเพราะน้ำจืดบนเกาะมีอยู่ อย่างจำกัด ภายหลังมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ นักโทษที่ถูกจับกุมในคดีกบฏวรเดช พ.ศ.2476 และคดีก่อกบฏ ในปี พ.ศ.2481  แต่เดิมจึงได้รับการปลดปล่อยในราวปี พ.ศ. 2487 

 กิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจบนเกาะ 

          บริเวณชายทะเลรอบเกาะเต่าถือว่าเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังที่มีหลากหลายมาก นักท่องเที่ยวที่ชอบดำน้ำจึงสามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น 
เกาะเต่า
           จุดดำน้ำที่เกาะเต่า 

         1. กองหินชุมพร (Chumporn Pinnacle) เป็นกองหินใต้น้ำ ห่างจากเกาะเต่าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความลึกสูงสุดประมาณ 30-40 เมตร เหมาะกับนักดำน้ำที่มีประสบการณ์ 

          2. หินใบ (Sail Rock) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเต่า อยู่ตรงกลางระหว่างเกาะเต่ากับเกาะพงัน เป็นกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ความลึกประมาณ 24 เมตร มีฝูงปลาให้นักดำน้ำได้ศึกษาหลากหลายชนิด 

          3. กองหินตุ้งกู (South west pinnacle) เป็นกองหินใต้น้ำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเต่าครับ ความลึกสูงสุดประมาณเกือบ 30 เมตร
           เล่นน้ำริมหาด 

          เกาะเต่า มีหาดทรายที่สวยงามมากมาย ได้แก่ หาดทรายรี หาดปะการัง อ่าวโฉลกบ้านเก่า อ่าวเทียนนอก อ่าวลึก อ่าวโตนด ผู้ท่องเที่ยวสามารถเช่ารถมอเตอร์ไซต์ขับขี่ท่องเที่ยวได้ทั่วเกาะ 

           สวนหิน จปร

          ส่วนแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะที่น่าสนใจไม่ควรพลาดอีกแห่งคือ หิน จปร. บริเวณหาดทรายรีทางด้านตะวันตกของเกาะ เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจารึกพระปรมาภิไธย ย่อไว้บนแผ่นหินครั้งเสด็จประพาสที่เกาะเต่า 

           จุดชมวิว จอห์น-สุวรรณ 

          ตั้ง อยู่บริเวณอ่าวโฉลกบ้านเก่าด้าน ทิศใต้บนเกาะเต่า ใช้เวลาในการเดินเท้าไม่เกิน 20 นาที เส้นทางเดินเท้าสู่จุดชมวิวนั้น ค่อนข้างรกและชัน จุดชมวิวนี้จะมองเห็นโค้งอ่าวเทียนออก ที่เว้าเกือบจรดกับ อ่าวโฉลกบ้านเก่า ทำให้จุดชมวิวนี้งดงามมากคล้ายกับเกาะพีพีดอน
เกาะเต่า

" อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง "

สถานที่ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง


   
     อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ประกอบด้วย สถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นเกาะใหญ่น้อยมากกว่า 40 เกาะ ทั้งยังมีเกาะที่เป็นโขดหินกลางทะเลอีกจำนวนมาก โดยมีเกาะช้างเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงของจังหวัดตราด ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเกาะช้างและอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เกาะหลายแห่งมีทิวทัศน์สวยงาม หาดทรายขาว และน้ำทะเลใสสะอาด เช่น เกาะง่าม บางแห่งมีปะการังใต้น้ำที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เช่น เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีความหลากหลายของพืชพรรณมาก ส่วนใหญ่เป็น ป่าดงดิบชื้น เป็นป่าที่ค่อนข้างห่างจากชายฝั่ง พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นไม้สกุลพลอง 
สารภีป่า และไม้ในสกุลหว้า ขึ้นปนอยู่ประปราย. พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางนา กระบาก ตะเคียนทอง ทะโล้ พญาไม้ เปล้า หลาวชะโอน เต่าร้าง หวาย เตยย่าน กล้วยไม้ ไผ่ เร่ว กระวาน ฯลฯ มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลองพร้าว พืชพรรณธรรมชาติที่พบเป็น ป่าชายหาด ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีพรรณไม้ขึ้นอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น หูกวาง สารภีทะเล เมา เสม็ด เตยทะเล เป็นต้น. ตามชายฝั่งที่เป็นดินเลนบริเวณอ่าวและปากคลองลำธารต่าง ๆ จะพบ ป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรงขาว แสม พังกาหัวสุม ถั่วดำ แสม ตะบูน ปอทะเล และตีนเป็ดทะเล และ ป่าพรุ เป็นสังคมพืชที่เกิดขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี บริเวณอ่าวสลักคอกและอ่าวสลักเพชร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหงือกปลาหมอ และกก เป็นต้น

" เกาะนางยวน "

สถานที่ท่องเที่ยว  เกาะนางยวน





    เกาะเต่า เป็นตำบลหนึ่งของเกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีด้วยกัน สองเกาะ คือ เกาะเต่า และ เกาะนางยวน อยู่ห่างเกาะพงันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 45 กม. เกาะเต่า เกาะสวรรค์ กลางทะเล อ่าวไทย เป็น สถานที่ท่องเที่ยว และ แหล่งดำน้ำ ที่ สวยงาม แห่ง ท้องทะเล อ่าวไทย ที่พึ่งจะเป็นที่รู้จักของ นักท่องเที่ยว ชาวไทย เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง แต่สำหรับ นักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศ แล้ว ชื่อของ เกาะเต่า กล่าวได้ว่าเป็น สวรรค์ของการ ดำน้ำ ที่ นักดำน้ำ ทั่วโลกรู้จักดีในความงดงาม และความมีสีสันของ โลกใต้ทะเล ที่ไม่แพ้ที่แห่งใดในโลก
เกาะเต่า ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะเต่า และ เกาะนางยวน พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็น ภูเขา มีพื้นที่ราบอยู่เพียง 30%ของตัวเกาะ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 17.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,225 ไร่ กว้าง 3.4 กิโลเมตร ยาว 7.6 กิโลเมตร มีด้วยกัน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหาดทรายรี บ้านแม่หาด และ บ้านโฉลก บ้านเก่า และด้วยระยะห่างจาก ปากน้ำชุมพร 85 กิโลเมตร ห่างจาก อ่าวบ้านดอน สุราษฎร์ธานี 120 กิโลเมตร และห่าง เกาะพะงัน ซึ่งถือเป็น เกาะ ที่อยู่ใกล้ที่สุด 45 กิโลเมตร นั่นก็ทำให้ เกาะเต่า กลายเป็น เกาะกลาง ทะเลหลวง ที่ค่อนข้างจะโดดเดี่ยวโดยแท้



      เกาะเต่า มีรูปร่างคล้าย เมล็ดถั่ว แต่บ้างก็ว่ามีลักษณะคล้ายตัว เต่า มี เกาะนางยวน เป็นหาง จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะ ลักษณะของ เกาะเต่า จะมีเว้าแหว่งของอ่าวอยู่มากมาย มีความงดงามตาม ธรรมชาติ ด้วยอ่าวถึง 11 อ่าว และ แหลม 10 แหลม ตลอด แนวชายฝั่ง ของ เกาะซึ่งยาว 28.6 กิโลเมตร รวมทั้งเป็น เกาะ ที่มี แนวปะการัง ยาวถึง 8 กิโลเมตร อยู่โดยรอบ เกาะเต่า แม้จะอยู่ในทะเลด้านที่รับ ลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดผ่านมาในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน มีนาคม แต่ก็มี เกาะน้อยใหญ่ ช่วยกำบังคลื่นลมให้อยู่บ้าง นักท่องเที่ยว จึงสามารถ เดินทางไป เกาะเต่า ได้ตลอดปี บน เกาะเต่า มี บังกะโล กระจายอยู่ตาม ชายหาด ต่างๆ มีบริการ รถจี๊ป รถมอเตอร์ไซต์ และ จักรยานเสือภูเขา ให้เช่า รวมทั้ง บริการเรือเช่า และ อุปกรณ์ดำน้ำ ตอนกลางวันจะไม่ค่อยพบเห็น นักท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่ จะนั่งเรือ ออกไป ดำน้ำ กันตั้งแต่เช้า กว่าจะกลับเข้าฝั่งก็เย็นย่ำ
เกาะนางยวน ประกอบกันด้วย เกาะเล็กเกาะน้อย 3 เกาะ ที่เชื่อมต่อกันด้วยสันทรายสีขาว จนบางครั้งยามน้ำลง ก็สามารถเดินถึงกัน และกลายเป็น เกาะ เดียวต่อเนื่องกันไปได้ สภาพธรรมชาติ โดยรอบ ประกอบด้วย ดง ปะการัง อันอุดมสมบูรณ์อยู่ภายใต้ ท้องทะเล สีเขียว มรกต จึงนับเป็น แหล่งที่เหมาะกับ การเล่นน้ำ และ การดำน้ำ ดู ปะการัง เป็นอย่างยิ่ง


สถานที่ท่องเที่ยว


ทางด้านใต้ของเกาะมีหาดโฉลกบ้านเก่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทชื่อดังมากมาย ซึ่งหากเดินไปอีก นิด จะมีโขดหินรูปร่างแปลกๆ เรียกว่า “หินตาโต๊ะ” ทางด้านตะวันตกของเกาะมีหาดต่างๆ มากมาย เหมาะแก่การนอนอาบแดดใกล้ๆ กับเกาะเต่า คือ เกาะนางยวน ซึ่งลักษณะของเกาะจะมีหาดทรายเชื่อมต่อ ระหว่างเกาะสาม เกาะ ซึ่งทั้ง 2 ที่ขนาบเกาะกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าเกาะที่อยู่ตรงกลาง ลักษณะพื้นที่บนเกาะเป็นภูเขา หิน และเมื่อมองจากกองหินบนยอดเขา จะเห็นทัศนียภาพรอบเกาะที่สวยงามมาก มองเห็นน้ำสีคราม ที่ห้อมล้อมเกาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาดสามเส้ากว้างใหญ่ขึ้น และลึกถึง 3 ชั้น มีช่องทางเข้า-ออก ได้ 16 ช่อง(1.5 x 2 ม.) มีบันได เชื่อมระหว่างชั้น ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงภายในติดต่อกันยาวประมาณ 1,000 เมตร สามารถจุคนได้ประมาณ 200 คน ภายในอุโมงค์แบ่งแยกเป็นห้องๆไว้หลายห้อง อันประกอบด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่-ขนาดเล็ก ห้องธุรการ ห้องวิทยุ ห้องพยาบาล ห้องครัว ห้องผู้นำ สนามซ้อมยิงปืนสนามหัดขี่มอเตอร์ไซด์และ ห้องสุขา ทั้งนี้ใช้เวลาขุดอุโมงค์แห่งนี้ ทั้งหมดด้วยกำลังคนประมาณ 2 ปี
นอกจากนี้ บริเวณเนินเขาภายนอกอุโมงค์ ยังจัดให้มีค่ายปฏิบัติการ ประกอบด้วยสนามบาสเก็ตบอล โรงครัว ที่พักชาย-หญิง และห้องปฏิบัติการเตรียมพร้อมและเมื่อมาถึงเกาะเต่าสิ่งที่ไม่ควรพลาด คือ การมาชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ หาดทรายแดง เพราะ สามารถมองเห็นภาพของพระอาทิตย์ขึ้นระหว่างเกาะเต่า และเกาะกงทรายแดง (เกาะหินเล็กๆ) ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามมากสำหรับจุดที่จะสามารถชมฝูงปลา และดำน้ำดูปะการังได้อีกจุด คือ แหลมแท่น ซึ่งเป็นหาดที่ค่อน ข้างเล็กมาก มีเนื้อที่ประมาณ 10 เมตร ด้านหลังหาดจะมีบังกะโลที่วางตัวลดหลั่นกันลงมา มองดูแล้ว ก็แปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง บริเวณนี้จะมีทุ่นสำหรับผูกเรือ เพื่อป้องกันปะการังเสียหายจากสมอเรือ
ทางด้านทิศใต้ของแหลมแท่น จะเป็นจุดดำน้ำที่เลื่องชื่อ คือ กงทรายแดง ซึ่งมีทั้งผู้ที่ฝึกหัดดำน้ำ และนักท่องเที่ยวจากเกาะสมุย ก็จะมาดำน้ำดูปะการังกันที่นี่ สำหรับจุดชมวิวที่สวยที่สุดของเกาะเต่า คือที่ โฉลกบ้านเก่า ซึ่งจะสามารถมองเห็นอ่าวโฉลกบ้าน เก่า และอ่าวเทียนนอก โดยทั้ง 2 อ่าว จะมีเว้าที่เกือบจะติดกัน มองเห็นแนวเขาของเกาะตัดน้ำทะเล สีคราม มองเห็นเกลียวคลื่นกระทบโขดหินเห็นเป็นฟองขาวสะอาด นอกเหนือจากโลกใต้น้ำแล้วบนเกาะยังมีสภาพธรรมชาติที่ร่มรื่น เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั้งปี แต่ควรเช็คสภาพอากาศก่อนเดินทาง
นอกจากนี้ เกาะนางยวน ยังมี จุดชมวิว ที่นับว่าสวยงาม และคุ้มค่ากับการปีน ขึ้นไปชมอีกด้วย โดยอยู่บนยอดเกาะแห่งหนึ่งซึ่งใหญ่เป็นลำดับสองในจำนวน 3 เกาะ ของ เกาะนางยวน ใช้เวลาในการเดินขึ้นไป ราว 20 นาที ซึ่งเมื่อปีนขึ้นไปถึง ข้างบนแล้ว จะเป็น ลานหิน กว้างใหญ่แห่งหนึ่ง สำหรับนั่งชมวิวได้เป็นอย่างดี และมุมมองแห่งนี้ อาจนับได้ว่าเป็นมุมมองที่สวยที่สุดของ เกาะนางยวน ก็ว่าได้ โดยเมื่อมองย้อนกลับลงมา ก็จะเห็นสันทรายสีขาว ทอดตัวยาวเหยียด เชื่อมต่อ เกาะ อีก 2 เกาะ เข้าด้วยกันใน ท่ามกลาง น้ำทะเล สีเขียวเข้มที่รายล้อมอยู่โดยรอบ อย่างงดงามยิ่งนัก
ความงดงามของ ธรรมชาติ ทั้งโลกเหนือ และ ใต้ทะเล ของ เกาะเต่า เหล่านี้ ด้วยระยะทางที่ห่างจากผืนฝั่งอยู่พอสมควร ส่วนหนึ่งจึงเป็นเหมือน ปราการ ช่วยรักษาความเป็น ส่วนตัว ให้กับ เกาะ นี้ได้คงความเป็น ธรรมชาติ ตราบนาน แต่ขณะเดียวกันความห่างไกลนี้เองที่เป็นมนต์เสน่ห์เชิญชวนให้ นักท่องเที่ยว ผู้รักสงบต่างฝันที่จะมาเยือน เกาะ แห่งนี้ สักครั้งในชีวิต

" สุราษฎร์ธานี "

ประวัติและอาณาเขต, สุราษฎร์ธานี
 


      สุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนพื้น เมือง ได้แก่ พวกเซมัง และมลายูดั้งเดิม ชึ่งอาศัยอยู่ ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอน ก่อนที่ชาวอินเดียจะอพยพเข้ามา ตั้งหลักแหล่ง และเผยแพร่วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐาน ในชุมชนโบราณที่ อ. ท่าชนะ อ.ไชยา เป็นต้น
      ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานปรากฏว่าเมืองนี้ได้รวมกับอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่าเมือง"กาญจนดิษฐ์" ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑล ได้รวมเมืองทั้งสามเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา ต่อมา พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา มาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองแห่งคนดี
 
  การปกครอง
สุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ อำเภอเมือง อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิยม อำเภอพนม อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย อำเภอดอนสัก อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านตาขุน อำเภอเกาะพะงัน อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอชัยบุรี และกิ่งอำเภอวิภาวดี

-----------------------------------------
  อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก ติดต่ออ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง


" กฎหมายครอบครัว "

ก่อนคิดมีชู้ "กฎหมายครอบครัว"

เรื่องของคนมีชู้

          ความรักบันดาลความสุขให้ทุกคนเท่าๆ กัน แต่บางครั้งความรักก็นำพาความวุ่นวายและปัญหาต่างๆ มาสู่ชีวิตของเราได้ หากไม่เข้าใจกันหรือไม่ซื่อสัตย์ต่อชีวิตคู่ของตัวเอง ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ ปัญหาต่างๆ ก็ต้องใช้กฎหมายเข้ามาช่วยเหลือ ไม่เว้นแม้กระทั่งการคบ ชู้

          คุณตุ๊ก-วิมลเลขา ศิริวรรณราชัย พิธีกรร่วมรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง (ช่วงกฎหมาย) และทนายความประจำสำนักงานทนายดารา ได้อธิบายกฎหมายเกี่ยวกับ "ชู้" ให้ฟังอย่างละเอียดว่า

          ปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าผู้ชายไปมีกิ๊กหรือมีชู้ แล้วผู้หญิงที่เป็นเมียหลวงจะเรียกร้องสิทธิได้อย่างเดียว เพราะถ้าผู้หญิงมีชู้หรือไปมีความสัมพันธ์กับชายอื่น สามีที่จดทะเบียนสมรสก็มีสิทธิเรียกร้องจากภรรยาได้เช่นเดียวกัน (แต่ถ้าคุณไม่จดทะเบียนสมรสก็หมดสิทธินะจ๊ะ) ซึ่งสิทธิในการเรียกร้องจากศาลมีอยู่ 2 แบบ คือ

           1. ค่าทดแทน เราสามารถเรียกร้องฝ่ายชู้และคนของเราเองได้ ในกรณีที่คนนั้นๆ ต้องแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีหรือภรรยาของคนอื่น เขาก็ถูกเรียกร้องสิทธินี้ได้ หรือมีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา เช่น รูปถ่าย มีพยานบุคคลไปเห็นว่าเขาอยู่กินร่วมกัน มีสถานการณ์ที่จะสันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์มากกว่าเพื่อนในเชิงชู้สาวทาง เพศหรือเปล่า ถ้ามีก็ฟ้องได้  

          ขณะเดียวกันคนที่เป็นภรรยา หลวงหรือสามี ก็ต้องไม่ได้แสดงพฤติกรรมในลักษณะให้อภัยหรือรู้เห็นเป็นใจ ถ้าคุณให้อภัยเมื่อไหร่ ค่าทดแทนที่คุณจะเรียกร้องได้นี่หมดสิทธิไปเลย และการเรียกร้องค่าทดแทน จะพิจารณาเกียรติยศและชื่อเสียของฝ่ายที่เสียหาย เช่น เมียหลวง เป็นคนมีชื่อเสียงในสังคมมาก การเรียกร้องค่าทดแทนก็สูงตามไปด้วย รวมทั้งพิจารณาจากสินสมรสที่อีกฝ่ายได้ไปแล้วด้วย

          แต่ถ้าคุณมีหลักฐานไม่ใช่ ชัดเจนเพียงพอ แล้วไปฟ้องร้องเขา หากศาลยกฟ้องว่าไม่มีหลักฐานชัดพอว่าเขาเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว กับสามีเรา เราก็อาจถูกเขาฟ้องกลับได้ในฐานะหมิ่นประมาท เนื่องจากทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียงได้เช่นเดียวกัน 

           2. ค่าเลี้ยงชีพ นอกจากเรื่องการแบ่งสินสมรสกันแล้ว ถ้าเกิดหย่าไปแล้วทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เขาสามารถมาเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ โดยศาลจะพิจารณาจากฐานะ สมมุติว่าผู้หญิงรวยมาก หย่าไปก็ไม่ได้ลำบากอะไร ตรงนี้ค่าเลี้ยงชีพก็อาจได้น้อยหรือไม่ได้เลย เพราะดูที่ความสามารถและฐานะของคู่สมรสด้วย

ทะเบียนสมรสกับสิทธิของลูก

          1. ถ้าพ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกที่เกิดจะไม่ใช่ลูกโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้สิทธิอะไรจากพ่อเลย เพราะถือเป็น 'บุตรนอกสมรส’หรือ ‘บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ (แต่ลูกจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่เสมอ เนื่องจากฝ่ายหญิงเป็นคนอุ้มท้องและเป็นผู้ให้กำเนิด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง)

          แต่ถ้าอยากจะให้ลูกเป็น "บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งเด็กจะได้รับสิทธิ 2 ประการ คือสิทธิในการที่พ่อต้องอุปการะเลี้ยงดูลูก และสิทธิเป็นทายาทคือได้มรดกเมื่อพ่อตาย ทำได้ 3 วิธี คือ 1.พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง 2.พ่อทำการจดทะเบียนรับเด็กเป็นลูก หรือ 3.ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่าเด็กเป็นลูก

          แต่ถ้าทำไม่ได้สักทางเลย ก็ยังมีทางที่เด็กคนนี้จะได้รับสิทธิอยู่ แต่วิธีนี้จะได้สิทธิแค่เพียงประการเดียวคือ พฤติการณ์ต้องเข้าลักษณะว่าพ่อรับรองลูกโดยพฤตินัยแล้ว เช่น การที่ฝ่ายชายให้เด็กใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู ให้เรียนหนังสือหรือบอกกับชาวบ้านว่าเด็กเป็นลูกของตัว แต่เด็กจะเข้าสู่ฐานะเป็น 'ผู้สืบสันดาน' คือได้รับมรดกเมื่อพ่อตายเท่านั้น แต่ไม่ได้สิทธิเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู

          2. ถ้าพ่อแม่จดทะเบียนสมรส ลูกจะได้รับการคุ้มครอง ลูกที่เกิดมาโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อแม่ จะมีสิทธิมากมายในฐานะบุตร เช่น พ่อแม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูส่งเสียให้ลูกได้เล่าเรียนมีการศึกษา หรือถ้าใครมาทำให้สามีหรือภรรยาถึงแก่ความตาย เช่น คนอื่นขับรถโดยประมาทมาชน เป็นเหตุให้สามีหรือภรรยาถึงแก่ความตาย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่รวมทั้งลูก ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะได้ เพราะหน้าที่ในการอุปการะนี้เป็นหน้าที่ที่คู่สมรสหรือพ่อ-แม่-ลูกที่ต้อง ปฏิบัติต่อกัน แต่คนนอกมาเป็นต้นเหตุให้การอุปการะนั้นหายไป

 Tip

ทะเบียนสมรสกับชีวิตคู่

          ทะเบียนสมรสไม่ใช่แค่ แผ่นกระดาษที่มีไว้ประกาศความเป็นเจ้าของ หรือมีไว้เพื่อประคองกอดให้สะใจเล่นๆ หรือเพื่อให้กฎหมายรองรับสถานะเท่านั้น แต่ทะเบียนสมรสมีค่ามากกว่านั้น...เพราะทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานทางกฎหมาย
ที่ทำให้สามีภรรยาได้ทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อกันในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง
การจัดการงานบ้านงานเรือน การอบรมเลี้ยงดูลูก และสิทธิที่จะอ้างความเป็นสามีหรือภรรยาไปยันกับคนนอก เช่น การเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด หากว่ามีใครมาทำสามีหรือภรรยาเราตาย โดยเราสามารถอ้างได้ว่าทำให้เราขาดไร้ผู้อุปการะ หรือสิทธิรับมรดกหากเราอายุยืนกว่าคู่สมรสเรา และการป้องกันคนนอกมายุ่งเกี่ยวกับคู่ชีวิตของเรา 

 Tip

มีสติและหนักแน่น

          "ในฐานะคนเป็นหลวงไม่ว่าจะ เป็นสามีหรือภรรยา ก็ขอให้มีสติ บางอย่างเราก็ต้องหนักแน่น บางทีฟังเสียงนกเสียงกามากไป มันทำให้เราลังเลและจินตนาการมากไปว่าคนของเรามีชู้จริงๆ ก็เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นมา ถ้าเช็คข้อมูลไม่ดี ไปฟ้องร้องแล้วเราก็มีสิทธิที่จะบาดเจ็บได้เหมือนกัน หรือถ้าคุยกันได้ในครอบครัวก็อย่าเพิ่งหย่ากันเลย จนกว่าเราจะอยู่ด้วยกันไม่ได้จริงๆ เพราะทะเบียนสมรสมันให้สิทธิคุ้มครองคนทั้งคู่เยอะมาก"